วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

เถียง กับ อธิบาย คล้ายกันนะ แต่ต่างกัน



ขอให้พิจารณา"นิยาม" เถียง กับอธิบาย ใกล้กันมาก แต่ต่างกันตรง "อรมณ์"ที่แสดงออกมา
ทั้งสองคำ หมายถึงการอธิบาย สิ่งที่ขัดแย้งหรือไม่ตรงกัน.  
แต่ "เถียง". จะแสดงออกด้วยอารมณ์โทสะด้วยน้ำเสียง อาการกิริยา ใบหน้า ดวงตา บางครั้งก้าวร้าว ไม่สุภาพ ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน กับคนที่เราอธิบายนั้น  

ส่วน "อธิบาย" หมายถึง การชี้แจง แสดงเหตุผลในเรื่องที่เห็นต่างกัน และต้องเป็นการชี้แจงหรืออธิบายในอารมณ์ที่ปกติกลางๆ ไม่เจือด้วยโทสะ ไม่ก้าวร้าว หรืออาการเหมือนข่มดูถูก อะไรสารพัดที่บอกว่า ไม่สุภาพ ไมอ่อนน้อม ไม่ให้เกียรติกัน. และไม่ควรอธิบายในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามกำลังอาละวาดหรือมีโทสะอยู่

     สรุป แล้วทั้งสองคำนี้  คือเป้าหมายเดียวกัน คือ การชี้แจงอธิบายเรื่องที่ขัดแย้งหรือเข้าใจไม่ตรงกัน. ต่างกันที่ "การนำเสนอ" ด้วยภาษา ที่แสดงออกว่าหยาบหรือสุภาพ แสดงด้วยท่าทาง ด้วยน้ำเสียง ด้วยอรมณ์ และ เลือกเวลาในการอธิบาย จะต้องเลือกให้เหมาะสม ไม่ใช่เวลาที่ฝ่ายตรงข้ามกำลังอาละวาด. ถ้าเราชี้แจงตอนนั้น เป็นการเถียงมากว่า เพราะต่างก็"โมโห"
    ถ้าใครอ่านจิตใจตนเองเป็นเสมอๆ  และไม่ยึดติดกับสมมติมาก เราจะแยกได้ดีว่า เราควรจะอธิบาย ได้ดีกว่า การเถียง เพราะไม่ชนะใดๆ ถ้า การแสดงออกมักใช้อารมณ์โทสะเจือปนอยู่ นอกจากความ"สะใจ" ของคนเถียง แค่นั้น
       วิบากกรรม ก็จะตามมาสะสมในก้อนจิต ให้ทุกข์อีกยาวนาน

meesatidee....24/3/56

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

บุญ กับ. กุศล. เข้าใจตรงกันไหม


เราได้ฟังครูอาจารย์ที่เรานับถือให้ปัญญากับเราว่า...
มักเข้าใจคำว่า "ทำบุญ" และ "ได้บุญ" ไม่ถูกต้อง  ทำให้คนส่วนมากไม่พ้นทุกข์ จึงเห็นคนทั่วไปที่ว่าไปทำบุญกันสารพัดแต่ผลก็คือยังทุกข์กันสารพัดเช่นเดิมๆ 

      "บุญ" หมายถึง การออกจาก(ออกจากกิเลส ,โลภ โกรธ หลง ตัญหาอุปทานฯลฯ)  ดังนั้น "การทำบุญ"  ต้องตั้งจิต และการกระทำทั้งกาย วาจา และใจ(ตั้งตะบะ)ที่ละ เว้น หยุด เลิก สิ่งที่เสพติดทั้งหลายตั้งแต่อบายมุขหยาบๆ จนถึงอัตตา และโลกธรรม ซึ่งละเอียดๆ ให้ลดละเลิก จนจางคลายออกจากจิตใจ ปรากฎให้เห็นได้ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม (กินสูบดื่มเสพ กินอยู่หลับนอน คิดพูดทำ ฯลฯ )  ถ้ากรรมใด ไม่มีผลให้จิตใจเรามุ่งสู่ การลดละเลิกกิเลสดังกล่าวนั้น   การกระทำนั้น ไม่ใช่การ"ทำบุญ" และไม่ "ได้บุญ" แต่อย่างใด เพราะ ไม่พ้นทุกข์ อย่างแท้ถาวร นำไปสู่มรรคผลนิพพาน ในที่สุด (แต่อาจแค่ได้กุศล เท่านั้น)
      
      สำหรับ "กุศล"   หมายถึง การกระทำที่ได้ทำความดีกับตนและผู้อื่น ความดีนี้เป็นความดีในทางโลกๆทั่วไป เช่นการให้ เสียสละ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การสร้างประโยชน์กับส่วนรวม ที่เราเห็นทั่วๆไป ฯลฯ
     
        กุศล  จะเป็น บุญ ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้า ผู้ทำ"กุศล"นั้น อ่านจิตใจ และตั้งจิตเพื่อลดละสิ่งที่ตัวเองเสพติดอยู่ ช่น การสละ การให้ เพื่อตนจะลดความโลภ เพื่อการไม่เอาเข้าตัว เพื่อจะลดละล้างการติด การยึด ทำนองนี้ ผู้นั้นจะ"ได้บุญ" เพราะ ได้ล้างจิตโลภ จากการได้ทำ"กุศล" นี้
      ในทางตรงข้าม ถ้าทำกุศล เช่น การบริจาค แล้วจิตคิดว่า ขอให้ตนเองรวย ๆ เพิ่มขึ้น หรือยังอยากได้นั่นได้นี่ หรือขอนั่นขอนี่ เท่ากับทำกุศล แต่"ความโลภ" เพิ่มในจิต ไม่ได้บุญแล้วกลับได้"บาป" เพราะ เป็นการกระทำที่เพิ่มกิเลสให้ก้อนใหญ่ขึ้นสะสมในจิตของตน สวนทางกับ ทางหลุดพ้นของพระพุทธเจ้า
   
    อย่างไรก็ตาม การทำกุศล มีส่วนทำให้จิตใจเบิกบาน มีสมถะ ได้สมาธิ มีความสงบ  เกิดปิติ และมีความสุข ได้เมื่อนึกถึง ก็มีผลให้มีความสุข ได้ เป็นความสุขทางโลกๆ  ไม่ใช่ความสุขนิรันดร์ที่นำไปสู่ทางพ้นทุกข์แท้   
     คนทำกุศลที่ทำจิตไม่ถูก เขาเรียกว่า ทำความดีที่ไม่พ้นทุกข์
  
   ทำกุศล หรือทำดีนั้น ดีอยู่แล้ว ถ้าทำบุญไปด้วยขณะทำกุศล (ละกิเลส) จะถือว่า "มีปัญา" นี้คือการปฏิบัติธรรมแท้ๆ ได้ทางไปสู่มรรคผล ในที่สุด
             ##  meesatidee....6/03/56##